จุดมุ่งหมายการศึกษาอิงมาตรฐาน (จัดทำโดย นางสาวกุลพัชร ภูเฮืองแก้ว)
Harris and Carr (1996 รุ่งนภา นุตราวงศ์, ผู้แปล 2545 : 14-16) ให้คำจำกัดความของมาตรฐานเนื้อหา (content
standard) และมาตรฐานการปฏิบัติของผู้เรียน (student
performance standards) ดังนี้
มาตรฐานเนื้อหา (content
standard)
ระบุองค์ความรู้ที่สำคัญ ทักษะและการพัฒนาด้านจิตใจ ดังนี้
1.
องค์ความรู้ที่สำคัญ
(essential knowledge) ระบุถึงแนวความคิด ประเด็นปัญหา
ทางเลือก กฎเกณฑ์ และความคิดรวบยอดในวิทยาการต่าง ๆ ทีสำคัญ ตัวอย่างเช่น
-
ผู้เรียนสามารถอธิบายช่วงเวลาและเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์
และวิเคราะห์ช่วงเวลาการเปลี่ยนแปลงในท้องถิ่น ชุมชน ในประเทศและภูมิภาคต่าง ๆ
-
ผู้เรียนสามารถเข้าใจประวัติความเป็นมา
และโครงสร้างของภาษาอังกฤษ (ประโยค ย่อหน้า บทความ)
-
ผู้เรียนสามารถเข้าใจธรรมชาติและการทำงานของเซลล์
ทั้งการทำงานเป็นเอกเทศและการทำงานร่วมกันเป็นระบบที่ซับซ้อน
2.
ทักษะ (skill) เป็นวิธีการคิด การทำงาน การสื่อสาร
และการสำรวจต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น
-
ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการบรรยาย
และอธิบายปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ
-
ใช้ระเบียบวิธีการทางสถิติในการเก็บรวบรวมข้อมูล
ตีความ เปรียบเทียบ และสรุปผลเกี่ยวกับเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์
และการเปลี่ยนแปลงอื่น ๆ ในสังคม
3.
พัฒนาการด้านจิตใจ
(habits of mind)
การเรียนรู้และประสบการณ์จากการศึกษาทั้งในโรงเรียนและนอกโรงเรียนมีผลต่อการพัฒนาทางด้านจิตใจของผู้เรียน
รวมถึงกระบวนการในการศึกษาค้นคว้า การแสดงข้อมูล หลักฐานสนับสนุนความคิด
การอภิปรายโต้แย้ง และความพึงพอใจในการทำงานร่วมกับผู้อื่น ตัวอย่างเช่น
-
ผู้เรียนสามารถประเมินผลการเรียนรู้ของตนเองโดยการสร้างเกณฑ์เพื่อใช้ประเมินงานที่มีคุณภาพ
-
ผู้เรียนสามารถแสดงออกถึงความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น
การเป็นผู้นำ และความมั่นคงในตนเอง
มาตรฐานการปฏิบัติของผู้เรียน (student performance standards) จะบอกถึงคุณภาพ โดยที่มาตรฐานเนื้อหาระบุถึงสิ่งใดที่ผู้เรียนควรรู้
และทักษะใดที่ผู้เรียนควรทำได้ มาตรฐานการปฏิบัติจะบอกถึงระดับคุณภาพและระดับที่ผู้เรียนต้องรู้หรือต้องทำสิ่งนั้นได้
ตัวอย่างเช่น
-
กรณที่มาตรฐานเนื้อหาระบุว่า
ผู้เรียนเรียนรู้และเข้าใจข้อมูลจากสื่อ ภาพ และบทอ่านจากสื่อต่าง ๆ อย่างหลากหลาย
-
มาตรฐานการปฏิบัติอาจระบุว่า
ผู้เรียนควรเรียนหนังสืออย่างน้อยที่สุด 25 เล่ม ต่อปี การเลือกอ่านบทอ่านที่มีคุณภาพ
ทั้งที่เป็นอมตะและเรื่องราวที่ทันสมัย จากหนังสือวรรณกรรมสำหรับเด็ก
หรือจากแหล่งข้อมูลอื่น ๆ เช่น นิตยสาร หนังสือพิมพ์ หนังสือเรียน
หรือสื่อเทคโนโลยี
Wiggins, G. (1994) จัดกลุ่มมาตรฐานการเรียนรู้ไว้
4 กลุ่ม คือ
1.
มาตรฐานผลรับหรือผลกระทบ
(impact)
เป็นมาตรฐานที่ระบุผลที่ต้องการจากการปฏิบัติงานใดงานหนึ่งของผู้เรียน เช่น
กำหนดให้ผู้เรียนกล่าวสุนทรพจน์เพื่อให้เกิดผลอย่างใดอย่างหนึ่งต่อผู้ฟัง
หรือให้ผู้เรียนเขียนสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายที่กำหนดเพื่อผลอย่างใดอย่างหนึ่ง
หรือให้ผุ้เรียนใช้ความรู้ทางภูมิศาสตร์ในการวางแผนอนาคต เป็นต้น
2.
มาตรฐานกระบวนการ
(process) เป็นมาตรฐานที่สะท้อนยุทธวิธี เทคนิค
วิธีการที่เหมาะสมที่ใช้ในการปฏิบัติงาน เช่น
มาตรฐานที่กำหนดให้ผู้เรียนกล่าวสุนทรพจน์อย่างชัดเจน
หรือให้ผู้เรียนเขียนสื่อสารได้อย่างสละสลวยสัมพันธ์กัน หรือให้ผู้เรียนใช้กระบวนการที่เหมาะสมในการสร้างหรือปรับเปลี่ยนกฎเกณฑ์
3.
มาตรฐานเนื้อหา
(content) เป้นมาตรฐานที่ระบุเนื้อหาสาระ ความคิดรวบยอด
แนวความคิด และข้อมูลต่าง ๆ เช่น ผู้เรียนรู้สมบัติของสสาร
มีความคิดรวบยอดเกี่ยวกับการผลิต การจำหน่าย และความต้องการของตลาด เป็นต้น
4.
มาตรฐานที่แสดงกฎหรือรูปแบบ
(rule or form) เป็นมาตรฐานที่เกี่ยวกับสูตร
กฎเกณฑ์ซึ่งมีรูปแบบเฉพาะ ปริมาตร ปริมาณ อัตราส่วน ตัวอย่างเช่น
ผู้เรียนสร้างกราฟซึ่งมีข้อมูลกำกับและใช้สีได้อย่างถูกต้อง
มาตรฐานนี้เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น ให้ผู้เรียนใช้คอมพิวเตอร์และเครื่องมือสื่อสารต่าง
ๆ ในการเก็บรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ
การกำหนดมาตรฐานในหน่วยการเรียนให้มาจากหลายมาตรฐานจึงช่วยให้กิจกรรมการเรียนการสอน
และการประเมินมีความครอบคลุมยิ่งขึ้น
การกำหนดมาตรฐานที่เป็นกระบวนการก็จะไม่มีความหมายหากไม่มีเนื้อหา หรือการกำหนดมาตรฐานที่เน้นเนื้อหาเพียงอย่างเดียวอาจจะไม่ได้ประโยชน์แก่ผูเรียนเท่าที่ควรหากไม่มีการนำกระบวนการนำไปปรับใช้ในสถานการณ์ต่าง
ๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น