วันเสาร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

การปรับปรุงจุดมุ่งหมายการศึกษาของบลูม


การปรับปรุงจุดมุ่งหมายการศึกษาของบลูม (จัดทำโดย นายศรันย์  สุดหลักทอง)
  การเปรียบเทียบ Bloom’s Taxonomy 2001 และ Bloom 1956
New Version
(Bloom’s Taxonomy 2001)
Old Version
(Bloom’s Taxonomy 1956)
สร้างสรรค์-Creating
การประเมิน-Evaluation
ประเมิน-Evaluating
การสังเคราะห์-Synthesis
วิเคราะห์-Analysing
การวิเคราะห์-Analysis
ประยุกต์-Applying
การนำไปใช้-Application
ความเข้าใจ-Understanding
ความเข้าใจ-Comprehension
ความจำ-Remembering
ความรู้-Knowledge

             Bloom(1956) ใช้คำนามในการอธิบายความรู้ประเภทต่าง ๆ ในฉบับปรับปรุงปี 2001 ใช้คำกริยาและปรับเปลี่ยนคำว่าความรู้ (knowledge)เป็น ความจำ(remember) เมื่อนำเขียนจุดมุ่งหมายการศึกษาของหลักสูตรที่อิงมาตรฐาน(standards-based curriculum) จะเขียนได้ว่า ผู้เรียนควรรู้และทำอะไรได้(กริยา)และได้จัดความรู้เป็น 4 ประเภท ได้แก่ ข้อเท็จจริง(factual) มโนทัศน์(concept) กระบวนการ(procedurel) และอภิปัญญา(meta-cognition) และมีการเปลี่ยนแปลงขั้นพฤติกรรมหลักในกรอบเดิม 2 ขั้น คือ ขั้นความเข้าใจ(comprehension)เปลี่ยนเป็น เข้าใจความหมาย(understand) และขั้นประเมิน(evaluation)เป็น สร้างสรรค์(create)
             มิติด้านความรู้ จำแนกระดับความรู้เป็น 4 ระดับ ได้แก่ 1)ความรู้ที่เป็นข้อเท็จจริง(Factual Knowledge) พื้นฐานของผู้เรียนต้องรู้จักหลักการหรือวิธีการแก้ปัญหา 2)ความรู้ที่เป็นมโนทัศน์(Conceptual Knowledge) ความสัมพันธ์ขององค์ประกอบพื้นฐานในโครงสร้างทั้งหมดที่ทำให้สามารถเชื่อมโยงกันได้ 3)ความรู้ในการดำเนินการ(Procedural Knowledge) วิธีการสืบค้นและเกณฑ์ในการใช้ทักษะ เทคนิควิธีการเพื่อดำเนินการ 4)ความรู้อภิปัญญา (Metacognitive Knowledge) ความรู้จากการรับรู้และความเข้าใจในตนเอง การปรับปรุงอนุกรมวิธานจุดมุ่งหมายทางการศึกษานี้ได้กล่าวถึงอภิปัญญา เป็นมิติหนึ่งของความรู้ คือการมีความรู้ที่มีความเกี่ยวข้องกับความรู้ทางปัญญาโดยทั่วไป รู้ถึงความรู้ในตัวเอง ซึ่งมิติใหม่ทางการศึกษานี้พุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนมีความรู้ระดับอภิปัญญา ตระหนักรู้ในตนเอง การไตร่ตรองย้อนคิดในตนเอง และการกำกับดูแลตนเอง  






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น